วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ภาพขนม โดยวิเศษขนมไทย

  • ฝอยทอง


  • ทองหยิบ


  • ทองหยอด


  • รวมขนมไทยวิเศษ (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และพุทราจีนอบแห้ง)


  • ขนมต้ม


  • ขนมปุยฝ้ายกลิ่นต่าง ๆ (เช่น ใบเตย, วนิลา, ช็อคโกแลต, กาแฟ ฯลฯ)


  • ตะโก้ เช่น ตะโก้เผือก ตะโก้แห้ว ตะโก้สาคูใบเตย ตะโก้ข้าวโพด ฯลฯ



  • ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง, ข้าวเหนียวหน้าสังขยา



  • ขนมต้มแดง


  • ข้าวเหนียวแก้ว


  • หมี่กรอบ


  • ขนมกล้วย


  • ขนมถั่วแปบ

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ที่มาของคำว่า "ขนม"


คำว่า "ขนม "เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่ผสมกันมาแล้ว คือ "ข้าวหนม" กับ "ข้าวนม"

ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย น้ำตาล

โดย คำว่า หนม แปลว่า หวาน อย่างข้าวหนมก็แปลว่าข้าวหวาน

เรียกสั้นๆเร็วๆจึงเพี้ยนเป็นขนมไป ส่วนที่มาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) ออกจะดูเป็นแขก

เพราะว่าอาหารของแขกบางชนิดใช้ข้าวผสมกับนม อย่างกับ ข้าวมธุปายาสของแขกโบราณ

(ดังที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)

และเช่นเดียวกัน เมื่อพูดเร็วๆจึงเพี้ยนกลายเป็นขนมแทน


คำว่าขนมมีใช้มานานหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำผสมของอะไร

จึงเป็นการยากที่จะสันนิษฐานให้แน่นอนได้ ของที่เรียกว่าขนมในสมัยโบราณ

หรือในสมัยที่จะมีคำว่าขนมนั้นจะเป็นของที่เกิดจากข้าวตำป่น (แป้ง)

แล้วผสมกับน้ำตาลเท่านั้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขนมรุ่นแรก

ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงขนมต้มไว้เหมือนกัน เดิมมีแป้งกับน้ำตาล

ต่อมามีคนดัดแปลงสอดใส้เข้าไปอีก ถึงตอนนี้ยังมีมะพร้าวปนอยู่ด้วย

ขนมไทยจึงหนี มะพร้าว แป้ง และ น้ำตาลไม่พ้น ของทั้ง ๓ อย่างก็เป็นของพื้นเมืงที่หาได้โดยทั่วไป.

ขนมชนิดแรกของคนไทยคืออะไร ?


มีหลักฐานซึ่งปรากฎอยู่บนศิลาจารึกได้กล่าวถึงชื่อขนมไทยไว้ ๔ ชนิด

(แต่ไม่ได้ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าอยู่ในสมัยใดค่ะ)


ขนมดั้งเดิมของคนไทยในสมัยนั้นก็คือ

เม็ดแมงลัก ลอดช่อง ข้าวตอกและข้าวเหนียว นั่นเอง


ซึ่งการตักนั้นก็จะตักใส่มาในถ้วยโดยมีน้ำกะทิแยกมาไว้เติมต่างหาก

ใครชอบอะไรก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

จากหลักฐานดังกล่าวเชื่อว่า อาจเกิดในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๑๕ - ๒๒๒๐ ขณะนั้นบ้านเรือนอยู่ในความสงบสุข

ไม่มีศึกสงคราม ราษฎรอยู่กันอย่างผาสุข แผ่นดินมีความอุดมสมบูรณ์

การเพาะปลูกอยู่ทั่วราชอาณาจักร มีบริโภคกันอย่างเหลือเฟือ

จนมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกับต่างประเทศ ทั้งประเทศแถบตะวันตก

และประเทศในเอเชียด้วยกันเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนวดข้าวหรือช่วยกันทำงานต่างๆเสร็จแล้ว

พวกผู้หญิงจะเตรียมขนมทั้งสี่ชนิดนี้ไว้เลี้ยงหลังเลิกงานอยู่เสมอ

จนเรียกการเลี้ยงขนมแบบนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"

ขนมไทยทั้ง สี่ชนิดนี้จะมีส่วนผสมหลักอยู่เพียง ๓ อย่าง

คือ แป้ง (ที่มาจากข้าวเจ้า) กะทิและน้ำตาลเท่านั้น

ซึ่งขนมของคนไทยในยุคต่อๆมาก็ยังคงมีส่วนผสมทั้งสามส่วนนี้ประกอบอยู่ด้วยเสมอค่ะ


ขอขอบคุณที่มาจาก Internet ค่ะ