มีหลักฐานซึ่งปรากฎอยู่บนศิลาจารึกได้กล่าวถึงชื่อขนมไทยไว้ ๔ ชนิด
(แต่ไม่ได้ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าอยู่ในสมัยใดค่ะ)
ขนมดั้งเดิมของคนไทยในสมัยนั้นก็คือ
เม็ดแมงลัก ลอดช่อง ข้าวตอกและข้าวเหนียว นั่นเอง
ซึ่งการตักนั้นก็จะตักใส่มาในถ้วยโดยมีน้ำกะทิแยกมาไว้เติมต่างหาก
ใครชอบอะไรก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ
จากหลักฐานดังกล่าวเชื่อว่า อาจเกิดในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๑๕ - ๒๒๒๐ ขณะนั้นบ้านเรือนอยู่ในความสงบสุข
ไม่มีศึกสงคราม ราษฎรอยู่กันอย่างผาสุข แผ่นดินมีความอุดมสมบูรณ์
การเพาะปลูกอยู่ทั่วราชอาณาจักร มีบริโภคกันอย่างเหลือเฟือ
จนมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกับต่างประเทศ ทั้งประเทศแถบตะวันตก
และประเทศในเอเชียด้วยกันเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนวดข้าวหรือช่วยกันทำงานต่างๆเสร็จแล้ว
พวกผู้หญิงจะเตรียมขนมทั้งสี่ชนิดนี้ไว้เลี้ยงหลังเลิกงานอยู่เสมอ
จนเรียกการเลี้ยงขนมแบบนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"
ขนมไทยทั้ง สี่ชนิดนี้จะมีส่วนผสมหลักอยู่เพียง ๓ อย่าง
คือ แป้ง (ที่มาจากข้าวเจ้า) กะทิและน้ำตาลเท่านั้น
ซึ่งขนมของคนไทยในยุคต่อๆมาก็ยังคงมีส่วนผสมทั้งสามส่วนนี้ประกอบอยู่ด้วยเสมอค่ะ
ขอขอบคุณที่มาจาก Internet ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น