วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ที่มาของคำว่า "ขนม"


คำว่า "ขนม "เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่ผสมกันมาแล้ว คือ "ข้าวหนม" กับ "ข้าวนม"

ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย น้ำตาล

โดย คำว่า หนม แปลว่า หวาน อย่างข้าวหนมก็แปลว่าข้าวหวาน

เรียกสั้นๆเร็วๆจึงเพี้ยนเป็นขนมไป ส่วนที่มาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) ออกจะดูเป็นแขก

เพราะว่าอาหารของแขกบางชนิดใช้ข้าวผสมกับนม อย่างกับ ข้าวมธุปายาสของแขกโบราณ

(ดังที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)

และเช่นเดียวกัน เมื่อพูดเร็วๆจึงเพี้ยนกลายเป็นขนมแทน


คำว่าขนมมีใช้มานานหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำผสมของอะไร

จึงเป็นการยากที่จะสันนิษฐานให้แน่นอนได้ ของที่เรียกว่าขนมในสมัยโบราณ

หรือในสมัยที่จะมีคำว่าขนมนั้นจะเป็นของที่เกิดจากข้าวตำป่น (แป้ง)

แล้วผสมกับน้ำตาลเท่านั้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขนมรุ่นแรก

ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงขนมต้มไว้เหมือนกัน เดิมมีแป้งกับน้ำตาล

ต่อมามีคนดัดแปลงสอดใส้เข้าไปอีก ถึงตอนนี้ยังมีมะพร้าวปนอยู่ด้วย

ขนมไทยจึงหนี มะพร้าว แป้ง และ น้ำตาลไม่พ้น ของทั้ง ๓ อย่างก็เป็นของพื้นเมืงที่หาได้โดยทั่วไป.

ไม่มีความคิดเห็น: